วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554

EPUB 3.0

เป็นเวลากว่า 12 ปีแล้วที่มีความพยายามในการพัฒนารูปแบบมาตรฐานสิ่งพิมพ์อิเล็กอิเล็กทรอนิกส์ ในรูปแบบ ePub (ในปี ค.ศ. 1999 เป็นครั้งแรกได้รับการเห็นชอบ ในรูปแบบ OEBPS 1.0  (Open EBook Publication Structure)  และในปี ค.ศ. 2001, ได้เกิดองค์กรที่ชื่อ IDPF พร้อมการรับรองรูปแบบ ePub 1.1)

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2011,  กลุ่มงาน IDPF ได้เผยแพร่แบบร่างของ EPUB 3.0 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงการทำงานที่สำคัญ นอกจากนั้นได้ทำการกำหนดโครงสร้าง และตั้งชื่อที่แตกต่างจาก EPUB 2.0.1 และรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงคำศัพท์บางอย่าง เพื่อความชัดเจน ตัวอย่างเช่น รายละเอียดระดับของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้เผยแพร่ และการแพกเกจเอกสาร  ใน EPUB 2.0.1 ชื่อ Open Packaging Format 2.0.1 ได้เปลี่ยนเป็น EPUB Publications 3.0 ใน EPUB 3.0 เป็นต้น

การทำงานใหม่ และการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ และโครงสร้างปัจจุบันใน EPUB 3 (ยกตัวอย่างมาบางส่วน)
1. เนื้อหาในเอกสาร
  • HTML 5: รูปแบบเนื้อหาพื้นฐานของ EPUB 3 ตอนนี้จะขึ้นอยู่กับการทำงานต่อเนื่องเป็นลำดับ XML ของ HTML5 (XHTML5)  ส่วน EPUB 2.0.1 รองรับสองรูปแบบเนื้อหาขั้นพื้นฐาน คือ HTML 1.1 และ DTBook
  • SVG: เอกสารรูปแบบ SVG ตอนนี้สามารถปรากฏอยู่ใน EPUB 3 โดยตรงได้เลย (เอกสาร SVG ไม่ต้องซ้อนอยู่ในเอกสาร XHTML เหมือนใน EPUB 2.0.1)
  • MathML: Math Markup Language เป็นรูปแบบเนื้อหาที่เพิ่มมาใหม่ ใน EPUB 3
2. ระบบการนำทาง
  • EPUB กำหนดไวยกรณ์ความสามารถในการอ่านของมนุษย์ และเครื่องมือการอ่านใหม่ เพื่อช่วยในการนำทางสำหรับการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีขนาดกว้างได้ดียิ่งขึ้น
3. การเขียนสคริปต์ และการโต้ตอบ
  • Scripting: ระบบการอ่าน EPUB 3 อาจจะเลือกสนับสนุนการเขียนสคริปต์ ซึ่งระบบการอ่านแบบเดิมใน EPUB 2 เป็นปัญหาอยู่พอสมควร หากใน EPUB 3 เลือกใช้การเขียนสคริปต์ในระบบการอ่าน ก็คงให้การอ่าน EPUB มีความหลากหลาย และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
  • Triggers: ระบบการกระตุ้น เพื่อให้เกิดการกระทำ หรือเกิดการทำงานของตัว Content เพื่อความสะดวกของผู้ใช้ ในการควบคุมเสียง และวิดีโอ โดยไม่ต้องเขียนสคริปต์ องค์ประกอบใหม่ของ Trigger จะถูกกำหนดไว้ในโปรไฟล์ EPUB ของ HTML5 ที่ช่วยในการออกคำสั่งให้เปิดใช้งานจากองค์ประกอบของรูปภาพ และที่เกี่ยวกับข้อความที่ระบุคุณสมบัติ เพื่อให้เล่นเสียง และวิดีโอ (เช่น ออกคำสั่งให้ เล่น, หยุด หรือหยุดชั่วคราว)
4. ลักษณะ และรูปแบบ
  • CSS: EPUB 3 กำหนดรายละเอียด CSS อยู่บนพื้นฐานของ CSS 2.1 (พร้อมด้วยการเพิ่มโมดูลจาก CSS3)
  • Font Embedded: EPUB 3 ต้องใช้ระบบการอ่าน ที่สนับสนุนรูปแบบตัวอักษร OpenType และ WOFF สำหรับแบบอักษรฝังตัวอยู่ร่วมกับ CSS ตามหลักเกณฑ์ @font - face
5.  Rich Media 
  • เสียงและวิดีโอ: EPUB 3 สืบทอด การสนับสนุนองค์ประกอบเสียง และวิดีโอ สำหรับ HTML5
    • ระบบการอ่านทุกระบบ ที่สนับสนุนการเล่นไฟล์เสียง จะต้องสนับสนุนไฟล์เสียง MP3
    • ระบบการอ่านทุกระบบ ที่สนับสนุนการเล่นวิดีโอ จะต้องสนับสนุนวิดีโอ H.264 พร้อมระบบเสียง AAC ในรูปแบบของ MPEG4

Rich Media ถือเป็นข้อกำหนดใหม่ที่น่าสนใจ ที่ส่งผลให้ EPUB มีองค์ประกอบการเป็นสื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น ตอบสนองกับยุคปัจจุบัน ซึ่งมีผู้ผลิตอุปกรณ์การอ่าน eBook มากยิ่งขึ้น และการอ่าน eBook จะเกิดผลในการรับรู้ และสร้างความบันเทิงได้ดี หากมีสื่อทางเสียง และวิดีโอ ประกอบอยู่ด้วย

ต่อไปก็เป็นหน้าที่ของผู้ผลิตซอฟต์แวร์ทั้งการสร้าง และการอ่าน จะต้องพัฒนา และปรับปรุงให้สนับสนุนกับ EPUB 3 ยกตัวอย่างเช่น ล่าสุด Adobe ได้ออกผลิตภัณฑ์ Adobe CS 5.5 ซึ่งในนี้มี InDesign CS 5.5 ที่มีการปรับปรุงคุณสมบัติให้มีคำสั่งที่สามารถสร้าง เรียกดู และอ่าน EPUB 3 รวมไปถึงการสร้างสื่ออื่นๆ ในลักษณะสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล อาทิเช่น Digital Magazine เป็นต้น

สำหรับซอฟต์แวร์ในค่ายอื่นๆ ก็เริ่มขยับปรับตัว เพื่อให้รองรับกับ EPUB 3 กันมากขึ้น และเราคงจะได้เห็น eBook ในรูปแบบ EPUB โลดแล่นอยู่บน Device ใหม่ๆ ทั้ง eBook Reader, Smart Phone และ Tablet PC

ประสิทธิ์ คล่องงูเหลือม

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

มากกว่า 200 Apps ที่ใช้ Digital Publishing Suite


ในปีที่ผ่านมาเราได้เห็นการตื่นตัวอย่างมากของผู้จัดพิมพ์นิตยสาร, หนังสือพิมพ์ และบริษัทผู้ผลิตสิ่งพิมพ์ทั่วไป มีการใช้ Digital Publishing Suite จากค่าย Adobe ในการแปลงสิ่งพิมพ์ของพวกเขา สำหรับอุปกรณ์แท็บเล็ต และภายในสัปดาห์นี้ (28-31 มีนาคม, 1-3 เมษายน 2554) มี Apps มากกว่า 200  สามารถดาวน์โหลดได้ และทั้งหมดนี้ได้สร้างขึ้นโดยใช้โซลูชั่นของ Adobe

เป็นอะไรที่น่าตื่นเต้นที่สุด129 Apps ถูกสร้างขึ้นในปี 2011 เราเห็นสัญญาณว่า ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้จัดพิมพ์ สามารถใช้ Viewer Builder Service เพื่อสร้างตราสัญญลักษณ์ของ App ของตนเอง โดยที่ไม่มีข้อจำกัด ในจำนวน Apps ที่น้างขึ้น หรือขนาดของไฟล์ App และไม่ต้องคอยการสร้าง App จากค่ายอื่นๆ ด้วยวิธีนี้ ช่วยเพิ่มความคล่องตัวของการบวนการสร้าง App และช่วยผู้เผยแพร่สามารถปรับใช้ได้อย่างรวดเร็วสำหรับ iOS

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

QuarkXPress 9 เสริมความแกร่ง DPS

QuarkXPress 9 เสริมความแกร่ง DPS ด้วยการสร้าง Content สำหรับ Digital Device
QuarkXPress มีความพร้อมที่ช่วยให้นักสร้างสรรค์ และนักจัดการระดับมืออาชีพ ออกแบบจัดหน้าที่สามารถเผยแพร่ไปที่สื่อสิ่งพิมพ์, เว็บ และอินเตอร์แอคทีฟ Flash (SWF)

QuarkXPress 9 ในขณะนี้ได้เพิ่มพลังให้กับนักออกแบบ เพื่อออกแบบ และเผยแพร่ไปยังอุปกรณ์ดิจิทัล ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งอุปกรณ์ e-readers, smartphones, and tablets ด้วยเครื่องมือเดียว และไม่ต้องอาศัยการเขียนโปรแกรม นักออกแบบต้องการเพียงการเผยแพร่โดยตรงจาก QuarkXPress ไปยัง  iPad®, สร้างเนื้อหาสำหรับ e-book หรือ ขยายตัวไปถึงกลุ่มผู้อ่านในขอบเขตที่กว้างขึ้น ด้วย Blio™ eReader
  
App Studio for QuarkXPress:
ด้วย App Studio สำหรับ QuarkXPress, นักออกแบบ จะมีสภาพแวดล้อมในการออกแบบเฉพาะภายใน  QuarkXPress 9 เพื่อสร้างเนื้อหาสำหรับ iPad  นักออกแบบจะสามารถที่สร้าง apps ขึ้นมาเอง สำหรับ iPad เผยแพร่ หรือจัดจำหน่าย apps ผ่านไปยัง Apple® App Store


QuarkXPress 9 มีเครื่องมือที่นักออกแบบคุ้นเคยอยู่แล้ว ทำให้ง่ายต่อการจัดทำกับเนื้อหาที่มีอยู่เดิมแล้ว หรือเพื่อที่จะออกแบบเนื้อหาเฉพาะเจาะจงสำหรับ  iPad ซึ่งประกอบไปด้วย video/audio players, slideshows, scrollable regions, Web overlays, pop-up windows, buttons, และ hyperlinks

รูปแบบไฟล์อื่นๆ ที่มีการปรับประสิทธิภาพ:
นอกจากการผลิตเนื้อสำหรับ iPad แล้ว QuarkXPress 9 ยังปรับเพิ่มประสิทธิภาพ ในการผลิตเนื้อหา ในรูปแบบไฟล์อื่นๆ อาทิเช่น ePub และ Blio อีกด้วย




รูปแบบ ePub สำหรับอ่านบนอุปกรณ์ iPad, Sony® Reader, NOOK® และอีกมากมาย

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

มีอะไรใหม่ใน Drop 10 Digital Publishing Suite

Adobe แนะนำ Drop 10 ของ Digital Publishing Suite
  • Pinch and zoom in PDF folios
    ถ้าคุณเลือก ตัวเลือก PDF export ในขณะที่สร้าง Folios, ผู้ใช้สามารถใช้นิ้วทำท่าทางเหมือนหยิก เพื่อขยายในหน้างาน โดยไม่ต้องมีการตอบโต้ซ้อนทับบนหน้างาน

    Localized viewers
    Adobe Content Viewer มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบภาษา ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของอุปกรณ์ ประกอบไปด้วยภาษาอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, สวีดิส, สปนนิส และญี่ปุ่น

    Folio renditions
    คุณสามารถสร้างได้หลายๆ renditions (รุ่นของของเลย์เอ้าท์ตามอัตราส่วนหรือความละเอียดบนหน้าจอ) ของสิ่งพิมพ์สำหรับโทรศัพท์มือถือที่แตกต่างกัน  Content Viewer จะดาวน์โหลดเฉพาะ rendition ที่มีความใกล้เคียงกับขนาดของอุปกรณ์มากที่สุด  ด้วยวิธีการนี้ จะช่วยลดความยุ่งยากในการจัดส่ง Digital Magazine หรือสื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยการดาวน์โหลดเฉพาะ rendition ของไฟล์ที่จะแสดงผลได้ชัดเจนมากที่สุดบนอุปกรณ์ องค์ประกอบสำคัญก้าวไปข้างหน้า ในขณะที่เราช่วยให้ผู้จัดพิมพ์ และผู้เขียน สร้างงานเพียงครั้งเดียว และปรับไปใช้กับหลายๆ อุปกรณ์

    Pagination in HTML stacks
    การจัดหน้าสิ่งพิมพ์ โดยการซ้อนทับกันของ HTML  (บทความ) ตอนนี้คุณสามารถแบ่งออกเป็นหน้าเว็บได้มากขึ้นอย่างงดงาม

    และแน่นอน สำหรับ Drop 10 ยังได้รวมเอาการสนับสนุนสำหรับอุปกรณ์ Android ผ่านซอฟต์แวร์ Content Viewer for Android

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Update Digital Publishing Drop 8 (Prerelease)

วันนี้ 8 ธ.ค. 53 ทาง Adobe ได้แจ้งข่าว การ Update เครื่องมือเพิ่มเติมใน Digital Publishing Suite ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดของ Prerelease เป็นเวอร์ชั่น Drop 8 ด้วยการเพิ่มคุณสมบัติใหม่ และปรับปรุงคุณสมบัติเดิมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดคร่าวๆ ดังต่อไปนี้

- Overlay Creator ใหม่ โดยใช้เป็น Panel ที่อยู่ใน InDesign CS5 (Widnow > Extension > Overlay Creator) ซึ่งมาแทนโปรแกรมเดิม คือ Interactive Overlay Creator ซึ่งใช้เป็น AIR เป็นฐาน การเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถสร้าง Interactive ทั้งหมด ได้โดยตรงจาก InDesign ใช้ Overlay Creator panel เพื่อสร้าง overlays และเปลี่ยนข้อกำหนด overlay
- Desktop AIR Viewer เป็น Viewer เวอร์ชั่นที่ใช้ AIR เป็นพื้นฐาน เพื่อทดสอบไฟล์ issuse (ตอนนี้เรียน "folios") ที่คุณสร้างขึ้นมา ตอนนี้ Desktop Viewer จะยังไม่รองรับทุกคุณสมบัติ ดังนั้นจึงต้องใช้มันเพื่อเป็นเครื่องมือทดสอบขั้นเริ่มต้นเท่านั้น
- "Issue" -> "Folio" มีการเปลี่ยนศัพท์ใหม่ จาก 'issue" เป็น "folio" ไฟล์ .issue ก่อนหน้านี้ ก็ยังใช้งานได้อยู่
- No ID options ใช้ overlay ID ตัวเดียวกัน ในการจัดหน้าทั้งแนวตั้ง และแนวนอน ไม่จำเป็นต้องใช้อีกต่อไป ในกรณีส่วนใหญ่ ที่จะให้ความต่อเนื่อง เมื่อเครื่อง iPad ถูกหมุน เครื่องมือ Bundler จะใช้ข้อมูล และข้อกำหนด เพื่อตรวจสอบสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการซ้อนทับกัน (overlay)
- Grid view in Viewer library ตอนนี้ Viewer library ช่วยให้คุณแสดง folios ได้ถึง 8 ไฟล์พร้อมกันใน grid view คุณสามารถทำการสลับระหว่าง grid view และ single view ได้
- Order option เครื่องมือ Content Bundler จะรวม "Order" ใหม่เข้าไว้ เป็นคอลัมน์ที่ทำให้มีโอกาสน้อยกว่า สำหรับที่คุณจะเปลี่ยนลำดับของสแต๊ค (stack) ดดยบังเอิญ ป้อนเลขที่ต้องการให้ปรากฏลำดับในสแต๊ค และมันจะถูกย้ายไปยังสถานที่ที่กำหนด
- Lock stacks while bundling เครื่องมือ Content Bundler จะรวม "Locked" ใหม่เข้าไว้ เป็นคอลัมน์ที่จะช่วยให้คุณป้องกันแสต๊กไม่ให้ถูกปรับปรุง เมื่อคุณทำการ bundle เป็นประโยชน์อย่างมาก เมื่อคุณต้องการทดสอบแสต๊กเพียงหนึ่ง หรือสองแสต๊ก
- Sign Out button in Viewer ปุ่ม Sign Out ใน Viewer คุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนรหัสผ่าน Adobe ID ของคุณ เพื่อแสดงปุ่ม Sign In
- eCommerce subscription services in Viewer บริการสมัครสมาชิกแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใน Viewer ตอนนี้ Publisher สามารถตั้งค่ารูปแบบการสมัครสมาชิกของตนเอง ช่วยให้ลูกค้าสมัครสมาชิกนิตสาร หรือจดหมายข่าว และจะได้รับการปรับปรุง folios ของพวกเขา  ลูกค้าสามารถระบุช่วงของ folios ที่ต้องการดาวน์โหลดใน iPad  เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับนิตยสารข่าว
- 3G  ไฟล์ Folios สามารถดาวน์โหลดไปที่ iPad ที่ผ่านการเชื่อมต่อระบบ 3G

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เปิดขาย iPad ในประเทศไทย กับกระแสการปรับตัวของสำนักพิมพ์

กฤษ์งาม ยามดี วันที่ 3 ธ.ค. 53 บริษัท แอ๊ปเปิ้ล (ประเทศไทย) จำกัด ได้วางจำหน่ายเครื่อง iPad พร้อมกันทั่วประเทศ โดยจำหน่ายผ่าน iStudio, iBeat และ U-Store

แนวการตลาดแบบนี้ Apple ถนัดนัก ทำให้มีคนสนใจ และรอคอย ที่จะซื้อเจ้า iPad กันอย่างใจจดใจจ่อ เพื่อต้องการเปลี่ยนเจ้าของให้ได้ หลังจากรอคอยมาอย่างยาวนาน ซึ่งบางคนรอไม่ไหว ก็ต้องหาซื้อมาใช้ก่อน จากร้านที่มาบุญครองบ้าง ศูนย์จำหน่ายคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไป หรือบ้างคน ต้องหิ้วมาจากต่างประเทศ กันเลยทีเดียว

การเปิดตัวจำหน่ายครั้งแรกในประเทศไทย มีด้วยกัน 6 รุ่น 16 GB, 32 GB และ 64 GB ที่มีเฉพาะ Wi-Fi และ16 GB, 32 GB, 64 GB ที่มี 3G ด้วย ส่วนเรื่องราคาก็ถือว่าถูกมาก ทำให้มีผู้สนใจซื้อเป็นจำนวนมาก


จากการเริ่มต้นจำหน่าย iPad ในประเทศไทยครั้งนี้ คาดว่าจะส่งผลให้กระแสของการสร้าง Apps สำหรับเครื่อง iPad เป็นที่สนใจของผู้พัฒนามากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งกระแสของ Digital Magazine ส่งผลให้สำนักพิมพ์ต่างๆ ต้องพิจารณา และให้ความสนใจ ในการผลิต Digital Magazine เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ iPad

ล่าสุดค่าย GM ได้ขยับ และปรับตัวเข็น Magazine ที่อยู่ในเครือจำนวนมาก ไม่ต่ำกว่า 7 เล่ม พัฒนาให้เปลี่ยน Digital Magazine และ upload ขึ้น Apple Store เพื่อให้ผู้ใช้ iPad ได้ download ฟรี ในขณะเดียวกัน ก็มีบางเล่ม ที่จัดจำหน่ายผ่าน Apple Store ด้วย
ค่าย GM เลือกใช้การพัฒนา Application จากบริษัท IT Works เป็นบริษัทที่รับพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล บนอุปกรณ์ต่างๆ เช่น iPad/iPhone, Android, Blackberry ภายใต้แบรนด์ OOKBEE ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของ IT Works

ที่น่าสนใจ คือ OOKBEE มีกลุ่มสำนักพิมพ์ และนิตยสาร จำนวนมาก ในประเทศไทย ที่ใช้บริการ เพื่อให้พัฒนาสิ่งพิมพ์ของตนเอง เป็นสื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะเป็น Digital Magazine เพื่อใช้บน iPad

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ทดลองสร้าง Digital Magazine ด้วย Adobe Digital Publishing Suite

งานสัมมนาของชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย Module 2 เกี่ยวกับการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีการแนะนำการสร้าง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (eBook) ด้วยรูปแบบไฟล์ PDF และ ePub และแนะนำการสร้าง Digital Magazine ด้วยรูปแบบไฟล์ Flash และ .issue ซึ่งเป็นโซลูชั่นของ Adobe



Digital Magazine (DM) บน iPad
ด้วยโซลูชั่น Adobe Digital Publishing Suite ซึ่งเป็นชุด Beta เปิดโอกาสให้ download เพื่อนำไปทดลองสร้าง Digital Magazine โดยมีการทำงานร่วมกับ Adobe InDesign CS 5
ชุด Adobe Digital Publishing ประกอบไปด้วย:
  • Adobe Digital Content Bundler < สำหรับสร้างไฟล์ .issue
  • Adobe Digital InDesign Plug-in < เชื่อมโยงการทำงานระหว่าง InDesign กับซอฟต์แวร์ Content Bundler และ Overlay Creator
  • Adobe Digital Overlay Creator < จัดการกับ Interactive ที่จะนำมาประกอบใช้ใน InDesign เพื่อผลิต DM เช่น 360 Viewer, Audio, Page Pan, Panorama, Video, Web View
  • Tutorial Assets < ไฟล์ตัวอย่างสำหรับใช้ทดลองทำ DM
  • Guideline < แนะนำวิธีการติดตั้งซอฟต์แวร์ต่างๆ รวมถึงการทดสอบสร้าง DM
สามารถ download ชุดทดลอง ได้ที่เว็บไซต์:

http://labs.adobe.com/technologies/digitalpublishing/


การเรียดดู Digital Magazine บน iPad จะต้องใช้ Application ที่ชื่อ Adobe Viewer ซึ่งสามารถ download ได้ที่ App Store

TSD Magazine
จากการทดลอง และทำงานกับ eMagazine ของ TSD เครื่องมือของ Adobe Digital Publishing Suite ตอบโจทย์การทำ DM ได้ง่าย และสะดวกขึ้น เพียงจัดการไฟล์บน CS5 (ตามเงื่อนไขของ DM) จากนั้นก็ Export ไปเป็นไฟล์ .issue นำไฟล์นี้ไปเปิดอ่านผ่าน Adobe Viewer บน iPad ได้เลย หรือจะทดลอง Export ไปไว้ที่ Server ของ Adobe ก็ได้ เพราะตอนนี้เปิดใช้ Upload ฟรี

ในงานสัมมนาของชมรมฯ ได้ทำการสาธิต DM จาก TSD Magazine โดยทดลองใส่คุณสมบัติต่างๆ ที่สมควรมีอยู่ใน DM ตามคุณสมบัติของ Adobe Digital Publishing Suite เช่น ได้ทดลองใส่เสียง, ภาพเคลื่อนไหว, การ link และ view ไปยังเว็บไซต์, การใช้ Page Pan และการดูภาพ Panorama มีเพียง 360 viewer อย่างเดียวที่ไม่ได้ทดลองทำ เพราะเตรียม Resource ไม่ทัน 




ผลการทดสอบ ทำให้ทราบถึงกระบวนการทำงาน DM ที่ต้องมีการปรับเปลียนระบบการทำงานไปบ้าง ในชั้นการออกแบบ และการเตรียมไฟล์ เพื่อให้สามารถนำไปใส่ และใช้ได้กับระบบการทำงานของ Adobe Digital Publishing Suite

 
 
เครื่องมือสำหรับการทำ DM เริ่มมีการเปิดตัวกันมากขึ้น จากหลายๆ ค่าย โดยเฉพาะจากค่ายซอตฟ์แวร์ที่ทำงานแบบศูนย์รวม ทั้งงานเป็นระบบ ตั้งแต่การ Create, Manager และ Distribute ตัว Content เป็นระบบ Cross Media Publishing แต่เครื่องมือหรือ Tools เพียงอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในการออกแบบ ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบ้าง อย่างเช่น การวางหน้าสำหรับ DM จะต้องวางทั้งแนวตั้ง และแนวนอน, การเตรียมข้อมูลทั้ง Text, Graphic และ Image รวมถึงข้อมูลที่เป็นเสียง และวิดีโอ
กรณีของวิดีโอ หากเตรียมไม่เหมาะสม มีขนาดไฟล์ที่ใหญ่เกินไป เมื่อมีการฝังวิดีโอ ไปพร้อมกับไฟล์ DM ก็จะทำให้ไฟล์มีขนาดเกินไป ไม่สะดวกต่อการโหลด และเรียกใช้งาน ซึ่งก็ต้องทำการแก้ไข โดยการ Link วิดีโอไว้ภายนอก ส่งผลให้เกิดความช้า เมื่อเรียดดูวิดีโอ เป็นต้น